โค้ช ลี ชอบที่จะใช้คำเปรียบ ว่า เวลาในการเพ่งความสนใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉลี่ยของปลาทองจะประมาณ 3 วินาที ซึ่งเกือบจะเท่ากันกับของมนุษย์ ปลาทองส่วนใหญ่จะใช้เวลาเกือบทั้งหมดในชีวิตในการว่ายนํ้าไปรอบๆ อ่างปลา โดยรู้สึกยินดีปรีดากับวิวทิวทัศน์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ถึงอย่างไรก็ตาม มนุษย์ยังดีกว่าปลาทองอยู่บ้างแต่ การที่จะสามารถเพ่งโฟกัสอย่างแน่วแน่ไปที่กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง ก่อนที่ความคิดอื่นๆจะเริ่มเข้ามารบกวนและทำให้เสียโฟกัส น่าจะประมาณสามวินาที เช่นเดียวกับปลา
ทอง
เมื่อนักยิงธนูฝึกฝนกล้ามเนื้อและระบบประสาทเพื่อให้ยิงธนูอย่างไม่ผิดพลาดเข้าสู่ใจกลางเป้า ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วย่อมเป็นไปได้ในทุกๆครั้งที่ยิง อย่างไรก็ดี มันจะเป็นไปได้เฉพาะการเพ่งโฟกัสซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บนการกระบวนการอย่างไม่ผิดพลาด ด้วยจิตใจที่ปราศจากความคิดรบกวนและร่างกายที่ไม่มีความตึงเครียดรบกวน กระบวนการนี้ควรจะทำในการยิงธนูทุกๆ ลูก นักยิงธนูจะต้องมีการเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์ระหว่างร่างกายของเขา/เธอเอง หลีกเลี่ยงความคิดที่ไม่ปรารถนาและความตึงเครียดในร่างก
ายที่ไม่จำเป็น
ไดอะแกรม 1 ข้างล่างนี้ แสดง ความแตกต่างระหว่างการโฟกัสที่กระบวนการ กับการโฟกัสที่ผลลัพธ์ของการยิง (คะแนน, รางวัล,,,)
คำถามในตอนนี้คือ เราควรจะโฟกัสไปที่ไหน? ถ้าเราพิจารณาไดอะแกรม 2 ข้างล่างนี้เราจะสามารถถามคำถามว่า ณ จุดใดใน วงรอบการยิง KSL ที่เราควรจะใช้เวลาสามวินาทีของเราในการโฟกัส นักยิงธนูส่วนมาก มักจะโฟกัสไปที่การเล็งและผลที่ได้ (เรียกว่าโฟกัสที่ผลลัพธ์) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความสามารถของมนุษย์ที่จะโฟกัสอย่างจริงจังได้เพียงสามวินาทีเท่านั้น การโฟกัสให้ตรงจุดจึงต้องอยู่ที่ช่วง “expansion” โดยไม่ต้องคาดเดาถึงสิ่งอื่นใดอย่างสิ้นเชิง
ในการฝึกซ้อม ดังแสดงในไดอะแกรม 3 ข้างล่างนี้ นักยิงธนูสามารถโฟกันบนส่วนต่างๆ ของกระบวนการ เพื่อจุดประสงค์ในการฝึกซ้อม ขั้นตอนต่างๆ ของ วงรอบการยิง KSL จะเป็นแนวทางในการฝึกซ้อมของท่าน อย่างไรก็ดี เมื่ออยู่ในการแข่งขัน โฟกัสที่ถูกต้องสำหรับการแข่งขัน จะอยู่บน “expansion” โดยไม่มีความรู้สึกของการคาดเดา/ผลการยิง
ตามที่แสดงข้างล่างนี้คือ วงรอบการยิง KSL 4 - การโฟกัสที่กระบวนการ
กระบวนการ = วงรอบการยิง KSL
|